บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2008

ผู้มีจริยธรรมที่ดี

รูปภาพ

การละหมาดวันศุกร์

รูปภาพ
ละหมาดศุกร์ ศาสนาอิสลามได้บัญญัติให้การละหมาดวันศุกร์เป็นสิ่งจำเป็นแก่มุสลิมที่เป็นชายทุกคน ทั้งนี้เป็นการชุมนุมเพื่อประกอบศาสนกิจประจำสัปดาห์ของบุคคลในชุมชนนั้น โดยให้อีหม่ามหรือคอเต็บแสดงธรรมเพื่ออบรมสั่งสอนผู้มาละหมาดให้มีความสามัคคีและยำเกรงต่ออัลลอฮ์ การละหมาดวันศุกร์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน 1. การอ่านคุฏบะฮ์ 2 คุฏบะฮ์ 2. การละหมาด 2 รอกาอัต ผู้ที่วาญิบละหมาดวันศุกร์ 1. เป็นมุสลิมชาย 2. เป็นอิสระ 3. บรรลุศาสนภาวะ 4. มีสติสัมปชัญญะ 5. เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ 6. เป็นบุคคลที่อยู่ในชุมชนนั้น คุณค่าของการละหมาดวันศุกร์ 1. เป็นการแสดงออกถึงความเสียสละต่ออัลลอฮฺ 2. เป็นการแสดงออกซึ่

นิทานแสนสนุก

รูปภาพ

นักฟุตบอลนักเรียนชายอายุไม่เกิน 12 ปี คู่ชิงชนะเลิศ เครือข่ายทุ่งทวด 2551

รูปภาพ
ทีมโรงเรียนบ้านใหม่ กับ โรงเรียนบ้านควนหรัน

อาคารเรียนโรงเรียนบ้านใหม่

รูปภาพ

แผนที่โรงเรียนบ้านใหม่

รูปภาพ

โรงเรียนบ้านใหม่

ขบวนพาเหรดโรงเรียนบ้านใหม่

รูปภาพ

โรงเรียนบ้านใหม่ และเครือข่ายทุ่งทวดพานักเรียนไปเข้าค่าย

รูปภาพ

ความพอเพียงของท่านศาสดามุหัมมัด

รูปภาพ

หลักคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการตามหลักอิสลาม

รูปภาพ
หลักคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ 1.ขยัน สูเจ้าจงอดทน ดั่งที่ผู้อดทนแห่งรอซู้ลทั้งหลายได้อดทนแล้วก่อนหน้านั้น (64/35) “จงประกอบกิจเพื่อโลกนี้ประดุจดังท่านจะมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์และจงประกอบกิจเพื่อโลกหน้าประหนึ่งว่าท่านจะตายในวันพรุ่งนี้ (อิบนุชากิร) ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบและทุกคนจะถูกไต่สวนในหน้าที่ของตน” (บุคอรีและมุสลิม) 2. ประหยัด “และบรรดาเมื่อเขาทั้งหลายใช้จ่าย พวกเขาก็ไม่สุรุ่ยสุร่ายและไม่ตระหนี่และได้มีทางอันเที่ยงธรรมในระหว่าง (คือทางสายกลาง)” อัลกุรอาน (25/67) “จงกินตามใจชอบและจงนุ่งห่มตามใจชอบตราบเท่าที่ห่างจากทั้งสองนี้คือการฟุ่มเฟือยและการเย่อหยิ่ง จองหอง” (รายงานโดยบุคอรีย์) 3. ซื่อสัตย์ “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์และจงอยู่กับผู้สัตย์จริง” อัลกุรอาน (9/119) “แท้จริงความซื่อสัตย์นั้นจะนำพาไปสู่ความดดี และแท้จริงความดีจะนำพาสู่สวรรค์” อัลหะดิษ 4. มีวินัย “และจงปฏิบัติตามสัญญาของอัลลอฮ์ให้ครบถ้วนเมื่อสูเจ้าได้สัญญา” อัลกุรอาน (16/91) ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงอย่าแตกแยกกันเพราะประ

อาหารหะลาล

อาหารหะลาลและประเภทของอาหาร คำว่าหะลาล (ﻞﻼﺤ) หมายความว่า สิ่งที่กฎหมายอิสลามหรือบทบัญญัติของอัลลอฮ์อนุมัติให้กระทำและถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องตลอดไปจนถึงวันสิ้นโลก อิสลามอนุมัติให้รับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่หะลาลและมีคุณค่าทางโภชนาการ และไม่อนุมัติให้รับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่หะรอม เพราะจะทำให้เกิดอันตรายและเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮ (ซ.บ.) ประเภทของอาหารหะลาล ประเภทของอาหารหะลาล คือ อาหารและเครื่องดื่ม รับประทานเข้าไปแล้วย่อมนำมาคุณประโยชน์ต่อร่างกายทุกครั้ง และ ผลไม้ต่าง ๆ เช่น เงาะ ส้ม มังคุด มะม่วง ลำไย ทุเรียน เป็นต้น

การศรัทธาต่ออัลลอฮ

รูปภาพ
อัลลอฮ เป็นพระผู้เป็นเจ้าของมนุษย์และเป็นพระเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง อัลลอฮทรงสร้างสรรพสิ่งในโลกนี้และในจักรวาลตามความประสงค์ของพระองค์ การศรัทธาในอัลลอฮคือการเชื่อมั่นและการยอมรับในการมีอยู่ของพระองค์ และเชื่อมั่นว่าอัลลอฮนั่นเป็นพระเจ้าเพียงองค์เดียว อัลลอฮมีพลังอำนาจเหนือทุกสิ่งไม่มีสิ่งใดเทียบเหมือนพระองค์ ดังนั้นไม่มีมนุษย์คนใดสามารถนึกภาพของพระองค์เพราะเป็นการเปรียบเทียบอัลลอฮกับสิ่งอื่นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ อัลลอฮได้กล่าวชี้แจงเกี่ยวกับพระองค์ ความว่า “แท้จริงฉันคืออัลลอฮ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากฉัน ดังนั้น สูเจ้าจงเคารพภักดีต่อฉัน” เราสามารถรู้จักอัลลอฮ ตามที่พระองค์ได้สอนไว้ในอัลกุรอ่านด้วยการศึกษาพระนามอันประเสริฐและคุณลักษณะของพระองค์ เช่นทรงพูด ทรงได้ยิน ทรงเห็น ทรงรอบรู้ ทรงดำรงด้วยพระองค์ นอกจากนั้นเองอัลลอฮทรงสอนให้เราใช้สติปัญญา พิจารณาปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบๆตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ เช่นการโคจรของระบบสุริยะจักรวาล การเกิดกลางวันและกลางคืนเป็นต้น พระนามอันประเสริฐของอัลลอฮเรียกว่า “อัล- อัสมาอุลหุสนา” ซึ่งผู้ศรัทธาต้องทราบ มี 99 พระน

การทำความดี

รูปภาพ
การทำความดี อิสลามเป็นระบอบการดำเนินชีวิตที่มุ่งจะขัดเกลาจิตใจให้ผ่องแผ้วด้วยการเคารพภักดีพระผู้อภิบาล และการกระทำดีต่อเพื่อนมนุษย์โดยตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความรัก ความเมตตา ความเสมอภาค ความยุติธรรม และความเป็นพี่น้องกัน เพราะหวังความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ ไม่ใช่ประพฤติดีเพราะหวังให้สังคมยอมรับหรือหวังผลตอบแทนจากมนุษย์ การทำความดี การทำความดีนี้ได้รวมถึงการตั้งใจเด็ดเดี่ยวที่จะกระทำความดีด้วย อิสลามสอนให้มนุษย์เป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์ใจ (อิคลาส) ตั้งใจที่จะกระทำความดีและกระทำความดีให้เป็นนิสัย แล้วแผ่ความดีไปยังผู้อื่นด้วย อิสลามมีอุดมการณ์เกี่ยวกับเรื่องความดีไว้ว่า มนุษย์ที่ดีในทัศนะของอิสลามคือผู้ที่ทำประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ผู้ใดที่ทำดีเฉพาะตน ไม่ได้กระทำดีต่อผู้อื่น ผู้นั้นยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นคนดี และวิธีทำความดีนั้น เขาต้องรักที่จะให้ผู้อื่น ดั่งที่เขารักเพื่อให้แก่ตัวเขาเอง อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องการทำความดีไว้ในอัลกุรอาน ความว่า - และการงานที่ดีนั้น พระองค์ทรงยกย่องมัน” (35:10) - การตอบแทนค

ความกตัญญูกตเวที

ความกตัญญู หมายถึง การรู้จักตอบแทนบุญคุณของผู้ที่มีดีต่อเรา ไม่ว่าจะเป็นการตอบแทนด้วยวาจา การกระทำ หรือสิ่งของก็ตาม โดยวัตถุประสงค์ของการตอบแทนก็คือ ต้องการให้ผู้ที่มีบุญคุณต่อเราเกิดความสบายใจ และรู้สึกยินดีต่อวาจา การกระทำ และสิ่งของที่เรามอบให้ การแสดงความกตัญญูต่อเพื่อน เพื่อนที่ดีต่อเรา เราต้องทำความดีตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือเพื่อนในเวลาที่เพื่อนเดือดร้อน การปลอบใจหรือให้กำลังใจเมื่อเพื่อนทุกข์ใจ รวมถึงการเตือนสติเมื่อเพื่อนหลงผิดด้วย การแสดงความกตัญญูต่อครอบครัว องค์ประกอบหลักของครอบครัวคือ พ่อ แม่ พี่ และน้องของเรา โดยเฉพาะ พ่อแม่ของเรา ซึ่งเป็นผู้ที่มีบุญคุณต่อเรามากที่สุด เราจะต้องปฏิบัติในสิ่งที่ดีต่อท่านอยู่เสมอ และไม่ควรสร้างความเดือดร้อนให้ท่านเกิดความไม่สบายใจ ไม่ว่าการใช้วาจา การแสดงสีหน้า การกระทำ หรือแม้แต่การคิดไม่ดีต่อท่านก็ตาม การแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ผู้มีพระคุณในที่นี้หมายถึง ผู้ที่คอยช่วยเหลือเรา ผู้ที่เมตตาต่อเรา รวมไปถึงผู้ที่ทำสิ่งดีๆให้กับเรา และผู้ที่หวังดีกับเราด้วย อยากให้เราได้ดีด้วย บุคคลเหล่านี้อาจจะกระทำไปโดยไม่ได้หวังผลตอบแทน แต่ด้วยควา